วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559






















Education 4.0 คือการเรียนการสอนที่สอนให้นักศึกษา สามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้ มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมต่างๆ มาตอบสนองความต้องการของสังคม
            การเรียนการสอนในบ้านเราที่ผมยังพอสัมผัสได้ ยังคงห่างไกลในหลายๆ มิติ เช่น เราไม่เคยสอนให้เด็กของเราได้คิดเองทำเอง ส่วนใหญ่ยังคงสอนให้เด็กทำโจทย์แบบเดิมๆ ผมชอบเวลาที่มีหลายคนมีรูปคำตอบของเด็กๆ ที่แปลกๆ มาลงเฟสบุ๊ค ซึ่งถ้าเป็นเรื่องจริงก็คงดี แสดงว่าเด็กกล้าคิดมากขึ้น อีกเรื่องคือเด็กของเราเริ่มไม่รู้จักสังคม เด็กๆ ส่วนใหญ่ใช้เวลาในโลกออนไลน์ไปกับ เกมส์ ช้อปปิ้ง เแชท เฟสบุ๊ค ไลน์ อินสตราแกรม ซึ่งส่วนใหญ่มันเป็นสังคมมายา ซึ่งเทคโนโลยีไม่ได้ผิดนะครับ แต่เหรียญมันมีสองด้าน เทคโนโลยีก็เช่นกัน เราจะนำไปใช้ในด้านใดให้เกิดประโยชน์ มันเป็นความยากและท้าทาย ผู้ที่ต้องทำหน้าที่สอนเด็กๆ ในยุคนี้ เพราะการเรียนการสอนในยุค 4.0 ต้องปล่อยให้เด็กได้ใช้เทคโนโยี ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ปล่อยให้เด็กกล้าคิดและกล้าที่จะผิด แต่ทั้งหมดก็ยังคงต้องอยู่ในกรอบที่สังคมต้องการหรือยอมรับได้ ไม่ใช่ว่าเก่งจริง คิดอะไรใหม่ๆ ได้เสมอมีความคิดสร้างสรรค์ แต่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งเรื่องของ Education 4.0 มันฟังดูเหมือนง่ายมากเพราะมันมีปัจจัยหลักๆ แค่ 3 ปัจจัยคือ
1.Internet
เครื่องมือสำคัญสำหรับการค้นหาความรู้ ผมเองจะเขียนบทความนี้ก็อาศัย Internet นี่ล่ะครับ เป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญ ดังนั้นทางสถาบันการศึกษาคงต้องสนับสนุนให้นักเรียนนักศึกษาเข้าถึง Internet ได้ง่าย มากกว่ามอง Internet เป็นผู้ร้ายแล้วกลัวว่านักเรียนนักศึกษาจะใช้ Internet ไปในทางที่ไม่ดีเลยไม่สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ในสถาบัน
2.ความคิดสร้างสรรค์
หลายๆ ท่านชอบพูดนะครับว่าเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ มันเป็นพรสวรรค์ไม่ใช่พรแสวงเรียนรู้กันไม่ได้ เพราะคิดกันแบบนี้เราถึงไม่สามารถสร้างอะไรใหม่ขึ้นมาได้ หลักสูตรการเรียนการสอนควรจะเปิดโอกาส ให้นักเรียนนักศึกษากล้าที่จะคิดนอกกรอบหรือต่อยอดจากตำรา
3.การปฏิสัมพันธ์กับสังคม
เพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของสังคมและทำงานร่วมกันในสังคมได้ จุดนี้ไม่ใช่เพื่อความต้องการของตลาดแล้วนะครับ (สงสัยคราวหน้าต้องมาเขียนเรื่อง Marketing 4.0) ทางสถาบันการศึกษาเองควรมีกิจกรรมให้นักเรียนนักศึกษาได้เข้าร่วมเป็นประจำ มีการสนับสนุนการทำงานแบบเป็นกลุ่มมากกว่างานเดี่ยว
ถ้าปัจจัยทั้ง 3 ข้อทำได้ดี Education 4.0 ก็จะสามารถสร้างและพัฒนาคน ให้สามารถค้นหาความรู้ต่างๆ มาปะติดปะต่อและประยุกต์เข้ากับงานที่ทำ สามารถต่อยอดและพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ได้ มีเพื่อนฝูงมีคอนเนคชั่น ซึ่งทั้งหมดก็คือคุณสมบัติหลักๆ ของบุคลากรที่ตลาดแรงงานในยุค Industry 4.0 ต้องการ ผมก็ต้องขอฝากไปถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาในบ้านเราที่ตอนนี้มุ่งแต่จะตอบสนอง AEC ซึ่งผมก็คิดว่ามันก็สำคัญ แต่เราก็ต้องเตรียมพร้อมในเรื่องของ Industry 4.0 ด้วย ช่วยกันเปลี่ยนการเรียนการสอนในบ้านเรา จากระบบการท่องจำและการเคารพอาจารย์ โดยการที่ไม่แสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง มาเป็นระบบที่สอนให้น้องๆได้หัดคิด หัดทำ สามารถที่จะโต้ตอบด้วยเหตุผลกับอาจารย์ได้ แต่ก็ยังคงต้องมีกรอบให้เข้าใจถึงการอยู่ร่วมในสังคมด้วย น้องๆ จะได้มีโอกาสสร้างนวัตกรรมแข่งขันกับชาติอื่นๆ ได้มากกว่านี้ ซึ่งทางแอพพลิแคดเองก็มีความยินดีที่จะสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยให้น้องๆ ได้มีโอกาสแสดงความสามารถความคิดสร้างสรรค์ 

แหล่งข้อมูล
วิรัช ปัณฑ์ศิริโรจน์


ลักษณะพิเศษ Education 4.0

              สืบเนื่องจาก การเข้าถึงเนื้อหาความรู้มีลักษณะเปิด Open Education Resource เข้าถึงได้ง่าย ยิ่งในยุคสมาร์ทโฟน Mobile Education การเข้าถึงยิ่งสะดวกมากยิ่งขึ้น การแสวงหาความรู้จึงทำได้เร็ว
              เด็ก เยาวชนยุคใหม่ มีลักษณะเป็น ชนพื้นเมืองดิจิทัล Digital native การเรียนการสอนแบบเก่าในห้องเรียน ที่ท่องบ่นเนื้อหา ตามแผนการสอน ตามกรอบหลักสูตร หรือทำโจทย์ ทำข้อสอบแบบเดิมจึงไม่เหมาะกับการศึกษายุคใหม่
              การศึกษายุคใหม่ Next Generation Education ต้องเน้นแสวงหา เรียนรู้ได้เอง อย่างท้าทาย สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ ต่อยอดความรู้เดิม คิดและประยุกต์ใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ได้ เหมาะกับตนเอง สังคม ตามสถานะการณ์
              การจัดการศึกษา 4.0 จึงต้องนำเอาหลักการ เกี่ยวกับยุคสมัยใหม่ ที่ตรงความสนใจของ ชนพื้นเมืองดิจิทัล ที่มีชีวิตในโลกไซเบอร์ ซึ่งประกอบด้วย
              การจัดการศึกษาที่ก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันบนไซเบอร์ โดยใช้ขีดความสามารถของระบบเชื่อมโยงทางฟิสิคัลกับไซเบอร์ ที่มีอุปกรณ์สมาร์ทสมัยใหม่ช่วย เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเบล็ต ฯลฯ
              ต้องรู้จักใช้เครื่องมือสมัยใหม่เพื่อการแสวงหาเรียนรู้จากความรู้อันมหึมาบนคลาวด์ โดยการใช้เครื่องมือที่สมาร์ทสมัยใหม่เชื่อมโยงสิ่งต่างๆเข้าด้วยกัน  
              การจัดการศึกษายุคใหม่ต้องใช้เครื่องทุ่นแรงทำเรื่องยากให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และเรียนรู้ได้เร็ว Learning curve
              สร้างกิจกรรมใหม่ๆบนไซเบอร์ โดยมีเครื่องมือทางดิจิทัล และเทคโนโลยีเกิดใหม่ IoT เป็นสิ่งทุ่นแรงเหมือนเครื่องจักรกลช่วยให้เรียนรู้ในสิ่งที่ยาก และสูงขึ้o
              ใช้รูปแบบเสมือนจริง Virtualization ให้ผู้เรียนใช้รูปแบบการใช้เชื่อมต่อบนคลาวด์แบบเสมือนจริง เครื่องมือการเรียนรู้แบบใหม่ๆ เป็นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมแสดงออกในความคิดเห็น Socratic method
              การจัดการศึกษาให้มีรูปแบบการบริการ Service oriented และเข้าถึงได้ในรูปแบบ real time ตลอดเวลา ทั่งถึง ทุกที่ ทุกเวลา Ubiquitous
              การศึกษาต้องไม่เน้นกรอบการเรียนรู้ แต่เน้นการต่อยอดองค์ความรู้ สร้างความรู้ใหม่ ไม่อยู่ในกรอบหลักสูตรแบบเดิม เป็นการเรียนรู้ตามความต้องการมากขึ้น
              การศึกษา 4.0 จะมีผลกระทบกับโรงเรียนแบบเก่า ที่ระบบการศึกษากำลังกลับด้านจากด้านโรงเรียนมาสู่ผู้เรียน การรับบริการการศึกษาด้านต่างๆบนไซเบอร์ทำได้ง่ายขึ้น ผู้เรียนเลือกจากที่ต่างๆได้ง่าย และตรงกับโมเดลชาวพื้นเมืองดิจิทั]
              โมเดลการจัดการศึกษาจะเปลี่ยนไป เหมือน การฟังเพลง เมื่อก่อนต้องซื้อเทป ซีดี หรือผู้เรียนต้องจ่ายค่าเล่าเรียน แต่การศึกษาแบบใหม่ การเข้าถึงบริการกิจกรรมการเรียนรู้บนไซเบอร์ จะเหมือนการฟังเพลงบนยูทูปโดยไม่ต้องจ่ายเงิน ซื้อเทปซีดี เพียงการเข้าถึง บนคลาวด์ ในโลกไซเบอร์

แหล่งข้อมูล
ยืน ภู่วรวรรณ


ความรู้เพิ่มเติม
แหล่งข้อมมูลโดย  QSR International


แหล่งข้อมมูลโดย  รศ.ยืน ภู่วรวรรณ


แหล่งข้อมมูลโดย  คณะทำงานเพื่อสร้างความตระหนักและการรับรู้เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น กระทรวงพาณิชย์


แหล่งข้อมมูลโดย  


แหล่งข้อมมูลโดย รองศราสตราจารย์ ดร.สมบัติ คชสิทธิ์







คำถามท้ายเรื่อง

1. จาการศึกษาเรื่อง Education 4.0 หมายถึงอะไร

2.ปัจจัยทั้ง ของ Education 4.0 มีอะไรบ้างครับ

3.ลักษณะพิเศษ Education 4.0 คือ




เฉลย
1.ตอบ = คือการเรียนการสอนที่สอนให้นักศึกษา สามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้ มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมต่างๆ มาตอบสนองความต้องการของสังคม 
2.ตอบ = 1.Internet   2.ความคิดสร้างสรรค์  3.การปฏิสัมพันธ์กับสังคม
3.การเข้าถึงเนื้อหาความรู้มีลักษณะเปิด Open Education Resource เข้าถึงได้ง่าย ยิ่งในยุคสมาร์ทโฟน Mobile Education การเข้าถึงยิ่งสะดวกมากยิ่งขึ้น การแสวงหาความรู้จึงทำได้เร็ว



13 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ2 กันยายน 2559 เวลา 00:38

    สุดยอด

    ตอบลบ
  2. อั้ยย้ะ สุดยยอด ครับ

    ตอบลบ
  3. เนื้อหาเยอะมากครับ

    ตอบลบ
  4. สวยงาม ตามท้องเรื่อง ชอบดอกมาด

    ตอบลบ
  5. สวยงาม ตามท้องเรื่อง ชอบดอกมาด

    ตอบลบ
  6. เป็นการประยุกต์เทคโนโลยีกับการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเข้ากับยุคสมัยอย่างสอดคล้อง สมบูรณ์แบบครับ

    ตอบลบ
  7. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ